วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

มารู้จักกล้อง DSLR กันเถอะ!!

              

                ปัจจุบันในโลกยุคนี้อะไรๆ ก็ก้าวไปสู่ ยุคดิจิตอล จนคำนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว  เรื่องของการถ่ายภาพก็เช่นกัน  กล้องถ่ายรูปดิจิตอลก็เป็นประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ หลายคนนึกภาพว่าใครๆ ก็ถ่ายรูปได้ แม้แต่เด็กๆ เพียงแค่กดชัตเตอร์ก็ได้ภาพที่ต้องการแล้ว แต่หากวิธีการถ่ายภาพให้ดี มีคุณภาพ ได้ภาพออกมาสวยถูกใจคนถ่าย และผู้ที่ถูกถ่ายภาพแล้วนั้น มีเทคนิคเคล็ดไม่ลับที่สามารถทำได้ไม่ยาก กล้องดิจิตอล กล้องสำหรับบันทึกภาพถ่ายเป็นระบบดิจิตอล พัฒนามาจากกล้องถ่ายรูป ที่เป็นแบบฟิล์ม ทำให้ไม่ต้องล้างฟิล์ม อัดรูปกันให้เสียเวลา เพียงแค่ใช้กล้องดิจิตอลบันทึกภาพ และกลไกการทำงานจะบันทึกภาพลงไปในเมมโมรี่การ์ด หลังจากนั้น ก็เอาเมมโมรี่การ์ด ใส่เข้าไปในการ์ดรีดเดอร์ เพื่อดึงรูปภาพออกมาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ต่อไป ซึ่งการใช้กล้องดิจิตอลนี้ราคาถูกกว่ามาก ในเรื่องการเก็บภาพถ่าย ที่สำคัญ ได้รูปภาพที่เยอะกว่า รูปไหนเราไม่ต้องการใช้ ก็สามารถลบได้เลย


                การทำงานของกล้องดิจิตอล ส่วนใหญ่ กล้องดิจิตอลแต่ละแบรนด์ จะออกแบบโปรแกรมสำเร็จรูปมาให้เราใช้ได้ง่ายอยู่แล้ว แบ่งแยกตามหมวดหมู่ที่ต้องการ อาทิ โหมดกลางวัน กลางคืน เมฆครึ้ม หรือ จะถ่ายคน ดอกไม้ น้ำตก ก็มีทั้งหมด เพื่อให้ถ่ายรูปได้ง่าย ไม่ต้องคิดค่าชดเชยแสงให้เสียเวลา หรือบางท่านไม่รู้เรื่องแสง เรื่องโฟกัส ก็มีมาให้อย่างอัตโนมัติในระบบดิจิตอลทั้งหมด


               การถ่ายภาพในกล้องดิจิตอลนั้น ส่วนใหญ่ก็จะสามารถซูมได้ เมื่อซูมแล้ว ก็จะกำหนดโฟกัส เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด หลังจากนั้น ก็จะมีกลไกการทำงานต่อเนื่อง เพื่อดึงรูปภาพไปใส่ในเมมโมรี่ หลังจากกดชัตเตอร์แล้ว ซึ่งกลไกการทำงานไม่ได้ต่างออกไปจาระบบอะนาล็อก หรือกล้องฟิล์ม กล้องโบราณ โดยทั่วไป แต่นั่นคือ การพัฒนามาให้เป็นกลไกการทำงานในระบบดิจิตอลเพื่อเท่านั้น เพื่อความง่าย และการต่อยอดพัฒนากล้องถ่ายภาพ แค่หลักการทำงานง่ายๆ ของกล้องดิจิตอลที่ออกแบบมา สามารุตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของทุกช่วงอารมณ์ จากโปรแกรมง่ายๆของแต่ละรุ่น เพียงหมุน หรือกดไปที่โปรแกรมง่ายๆ ภาพที่เราประทับใจ ก็ถูกบันทึกเอาไว้

1.   กล้อง DSLR คือ



1.1 ความหมายและความสามารถของกล้อง DSLR


1.1.1 ความหมายของกล้อง DSLR 

            ความหมายของกล้อง DSLR มาจากคำว่า digital single lens reflex เป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวด้วยระบบดิจิตอล มีลักษณะเหมือนกล้องที่ใช้ฟิล์ม เพียงแต่ใช้เซ็นเซอร์ในการรับภาพแทนฟิล์ม ซึ่งก็คือคือ กล้องชนิดหนึ่งในกล้องดิจิตอล ที่สารถถ่ายภาพต่างๆได้สวยงาม มีเลนส์ต่างๆมากมาย เพื่อให้ได้ภาพที่ชัด บางรุ่นมีขนาดใหญ่โต เนื่องมาจากเลนส์ที่มีขนาดใหญ่ และหนัก แต่ก็ทำให้ภาพที่ออกมานั้นสวยมากกว่ากล้องดิจิตอลธรรมดา แต่ก็มีราคาที่สูงขึ้นไปตามลำดับ

1.1.2 ความสามรถของกล้อง DSLR

           กล้อง DSLR จะสามารถปรับรูปภาพได้ มีลูกเล่นตามแต่ต้องการมากขึ้นไปมากกว่ากล้องดิจิตอลโดยทั่วไป เช่น ถ่ายภาพสัตว์ขนาดเล็ก ถ่ายภาพระยะไกล ปรับโฟกัสได้ตามที่เราต้องการ สามารถตั้งค่าได้ในระบบอัตโนมัติและระบบแมนนวล ตามความต้องการ มีเซ็นเซอร์ปรับระดับได้ นิยมใช้ในหมู่นักเล่นกล้อง หรือว่า นักเริ่มเล่นกล้องก็สามารถทำได้ เพราะสำหรับกล้องดิจิตอล DSLR นั้น ไม่ได้มีเอาไว้สำหรับบันทึกภาพอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ได้ในการถ่ายภาพเพื่อความสวยงามอย่างจริงจังได้ด้วย ได้ภาพที่เสมือนจริงมากกว่า กล้องดิจิตอลโดยทั่วไปนั่นเอง




กล้อง DSLR คืออะไร มีดีอย่างไร คลิปนี้มีคำตอบ






1.2 ชิ้นส่วนพื้นฐานและอุปกรณ์ควบคุมหลักของกล้องมีดังต่อไปนี้


1.2.1 ตัวกล้อง (Body)

            ตัวกล้องมีลักษณะเป็นกล่องทึบ ด้านหน้าสำหรับติดตั้งเลนส์ ด้านหลังมีช่องมอง ด้านบนมีปุ่มกดบันทึกภาพ/ปุ่มกดลั่นชัตเตอร์ ภายในมีหน่วยรับภาพอยู่ส่วนหลัง กล้องประเภทสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR) มีกระจกและปริซึมสำหรับสะท้อนแสงจากเลนส์ไปสู่ช่องมองภาพ ภายในยังมีหน่วยวัดแสง ช่องเก็บแบตเตอรี่และแผงวรจรไฟฟ้า หน่วยความจำ นอกจากนี้ด้านนอกของตัวกล้องยังมีอุปกรณ์วัดระยะห่างจากวัตถุ แฟลช ปุ่มปรับต่าง ๆ และช่องเสียบสำหรับใช้งานต่าง ๆ  ตัวกล้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ทำจากวัสดุที่ต่าง ๆ กันสำหรับกล้องแต่ละรุ่นตั้งแต่ พลาสติกจนถึงโลหะผสมที่มีน้ำหนักเบา

1.2.2 ช่องมองภาพ (Viewfinder)

            ช่องมองภาพเป็นช่องสำหรับมองภาพก่อนทำการบันทึกภาพ กล้องประเภทสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (SLR) สามารถมองเห็นภาพในมุมเดียวกับภาพที่จะทำการบันทึกเนื่องจากใช้กระจกสะท้อนแสงจากเลนส์ขึ้นไปปรากฏภาพบนกระจกฝ้าด้านบน แล้วสะท้อนภายในปริซึมห้าเหลี่ยม (Pentaprism) เข้าสู่ช่องมองแสงที่อยู่ด้านหลังของกล้อง กล้องรุ่นใหม่มักมีจอภาพ LCD หรือ LED อยู่ผนังด้านหลังของตัวกล้อง ทำให้มองเห็นภาพที่จะบันทึกได้ถนัดขึ้น
1.2.3 หน่วยรับภาพ (Light-sensitive Materials)

            หน่วยรับภาพเป็นวัสดุไวต่อแสง อาจเป็นฟิล์มหรือแผ่นชิปสร้างภาพดิจิตอล (Digital Imaging Chip) หน่วยรับภาพจะอยู่ด้านหลังภายในตัวกล้อง ในปัจจุบันหน่วยรับแสงที่เป็นฟิล์มเริ่มหมดจากตลาด ส่วนแผ่นชิปสร้างภาพดิจิตอลที่นิยมใช้ จะเป็น “CCD” (charge coupled device) และ “CMOS” (complementary metal oxide semiconductor)


ในยุดก่อนที่ใช้ฟิล์มเป็นหน่วยรับภาพ ผู้ผลิตฟิล์มจะกำหนดให้มีการผลิตฟิล์มแต่ละชนิดให้มีค่าความไวแสงที่ต่าง ๆ กันสำหรับการใช้งานแต่สภาพแสง ความไวแสงมีหน่วยวัดตามระบบ ISO (International Standards Organization) มาตรฐานที่ใช้คือ ISO 5800:1987 (เดิมยังมีการกล่าวอ้างถึงระบบมาตรฐาน DIN ย่อมาจาก  “Deutsches Institut für Normung” ซึ่งเป็นมาตรฐานของเยอรมัน)  ฟิล์มสำหรับถ่ายภาพในสภาวะแสงทั่วไป มีค่า ISO เท่ากับ 64 ถึง 100 หากจะถ่ายภาพในที่มืดปานกลาง ให้เลือกใช้ฟิล์มที่มี ISO เท่ากับ 300 ถึง 400 สำหรับสถานที่ที่มืดมากอาจใช้ ฟิล์มที่มี ISO สูงถึง 1600  อนึ่งเมื่อฟิล์มที่มีค่า ISO สูงขึ้น คุณภาพของภาพก็จะ


ตัวอย่างขนาดต่าง ๆ ของหน่วยรับภาพดิจิตอล
ชนิด
ขนาด กว้าง x สูง
พื้นที่รับภาพ
Medium Format (Kodak KAF39000)
50.7 มม. x 39 มม.
1977ตร.มม.
FX (Full Frame 35mm)
36 มม. x 24 มม.
864 ตร.มม.
DX 
24 มม. x 16 มม.
372.88 ตร.มม.
APS-C (Canon)
22.2 มม. x 14.8 มม.
329 ตร.มม.
Micro Four Thirds
17.3 มม. x 13 มม.
225 ตร.มม.
1/1.7 (Canon S90 & G11)
7.6 มม. x 5.7 มม.
43.32 ตร.มม.
1/2.5 ( P, Ss)
5.76 มม. x 4.29 มม. 
24.71 ตร.มม.

เมื่อมีวิวัฒนาการใช้แผ่นชิปสร้างภาพดิจิตอลเป็นหน่วยรับภาพ การกำหนดค่าความไวแสงของหน่วยรับภาพใช้วิธีเทียบเคียงกับค่าความไวแสงของฟิล์มและใช้ค่าในระบบ ISO เช่นกัน แต่เนื่องจากแผ่นชิป สร้างภาพดิจิตอลหนึ่ง ๆ สามารถปรับค่าความไวแสงได้หลายระดับไม่เหมือนของฟิล์มแต่ละม้วนที่มีค่า ISO ตายตัว ผู้ใช้กล้องจึงสามารถเลือกใช้ค่า ISO ได้ตามสภาพของแสง (ในปัจจุบัน การเลือกใช้ ISO สูง ๆ ยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพของภาพอยู่) ได้มีการปรับปรุงหมายเลขมาตรฐานที่ใช้อ้างอิง เป็น ISO 12232:2006 สำหรับหน่วยรับแสงแบบดิจิตอล

1.2.4 เลนส์ (Lens) 

            เป็นกลุ่มของเลนส์ที่ให้แสงผ่าน ทำหน้าที่ย่อ/ขยายภาพ และทำให้ภาพที่หน่วยรับภาพมีความคมชัด ภายในเลนส์จะมีอะเพอร์เจอร์ และอุปกรณ์ปรับระยะชัดอัตโนมัติ อีกทั้งอาจมีการติดตั้งอุปกรณ์ลดการสั่นไหวของภาพ เลนส์จะถูกแบ่งประเภทตามความยาวโฟกัสของเลนส์ (Focal Length) เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสเท่ากับ 50 ม.ม. ถือเป็นเลนส์ถ่ายภาพปกติ (Normal Lens / Prime Lens) ของกล้องที่ใช้ฟิล์ม 35 ม.ม. กล่าวคือเมื่อเรามองผ่านช่องมองแสงของกล้องที่ใช้ฟิล์ม 35 ม.ม.ด้วยเลนส์ชนิดนี้จะเห็นภาพขนาดปกติไม่ใหญ่หรือเล็กเกินความเป็นจริง เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสต่ำกว่านี้ถือเป็นเลนส์ถ่ายภาพมุมกว้าง (Wide  Angle Lens) เช่น เลนส์ 35 ม.ม. เลนส์ 16 ม.ม. ยังมีเลนส์ที่สามารถมองมุมได้กว้างเกือบ 180 องศา เราเรียกเลนส์ชนิดนี้ว่า เลนส์ตาปลา (Fish Eye Lens) ส่วนเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสมากกว่า 50 ม.ม. ถือเป็นเลนส์ถ่ายภาพระยะไกล (Telephoto Lens) เช่น เลนส์ 80 ม.ม. เลนส์ 135 มม. เลนส์ 300 ม.ม. เลนส์ที่สามารถเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้ถูกเรียกว่าเลนส์ถ่ายภาพเปลี่ยนระยะโฟกัสหรือเลนส์ซูม (Zoom Lens) เลนส์ประเภทนี้จะระบุช่วงระยะโฟกัสต่ำสุดกับสูงสุด เช่น เลนส์ 35-70 ม.ม. หมายถึง เลนส์ที่สามารถปรับช่วงความยาวโฟกัสตั้งแต่ 35 ม.ม. เรื่อยไปจนถึง 70 ม.ม. (แสดงให้เห็นว่าเลนส์ตัวนี้ ครอบคลุมทั้งช่วงมุมกว้าง ปกติและช่วงระยะไกล) ยังมีเลนส์อีกประเภทหนึ่งที่ใช้ถ่ายภาพระยะใกล้มาก ๆ เช่น ถ่ายภาพดอกไม้ แมลง เราเรียกว่าเลนส์ถ่ายภาพระยะใกล้/เลนส์มาโคร (Macro Lens) เลนส์ประเภทนี้เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสคล้ายเลนส์ประเภทอื่น แต่ออกแบบให้สามารถถ่ายภาพในระยะใกล้ ๆ ได้

การหาความยาวโฟกัสของเลนส์

ภาพของเลนส์ประเภทต่าง

1.2.5 ชัตเตอร์ (Shutter) 
            ชัตเตอร์ทำหน้าที่เสมือนประตูปิดเปิดรับแสงให้กับหน่วยรับภาพ อยู่ภายในตัวกล้องด้านหน้าของหน่วยรับภาพ ผู้ใช้สามารถปรับตั้งระยะเวลาในการเปิดรับแสงให้กับหน่วยรับภาพ ในสภาวะแสงปกติ เวลาในการเปิดรับภาพเป็นเศษส่วนของวินาที ช่วงเวลาที่มีการเปิดรับแสงเรียกว่าความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) มีหน่วยวัดเป็นตัวเลขจำนวนเต็มเท่ากับส่วนของวินาทีที่เปิดรับภาพ เช่น เปิดรับแสงนาน 1/125 วินาที จะได้ค่าความเร็วชัตเตอร์เท่ากับ "125" หากต้องการกำหนดเวลาการเปิดรับแสงโดยผู้ใช้เองจะใช้อักษร "B" ในกรณีที่เปิดชัตเตอร์นาน 2 วินาที ก็กำหนดค่าความเร็วชัตเตอร์เป็นเลขจำนวนเต็มเท่ากับ "2" เช่นเดียวกับการเปิดนาน 1/2 วินาที  แต่ที่ปุ่มปรับ เลข ”2" สำหรับ 2 วินาทีจะอยู่ต่ำกว่า "B" และมักใช้สีของตัวเลขที่ต่างออกไป



1.2.6 อะเพอร์เจอร์ (Aperture)
            อะเพอร์เจอร์เป็นอุปกรณ์ภายในเลนส์ที่คอยปรับเปลี่ยนขนาดของรูแสง ทำหน้าที่เสมือนหน้าต่างเปิดรับแสงผ่านเลนส์เข้าสู่ตัวกล้อง หากรูแสงใหญ่ปริมาณแสงจะส่องผ่านได้มากกว่ารูแสงที่เล็กกว่า มีหน่วยวัดเป็นอัตราส่วนของความยาวโฟกัส (Focal Length) กับเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดของรูแสงอะเพอร์เจอร์ เช่น เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 50 ม.ม. เมื่อเปิดอะเพอร์เจอร์ให้มีรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.25 ม.ม. เอา 50 หารด้วย 6.25 ซึ่งเท่ากับ 8 ก็จะได้ค่าของอะเพอร์เจอร์เท่ากับ "f/8" ค่าของอะเพอร์เจอร์โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง "f/1.2" ถึง "f/32" (โดยทั่วไปจะพบ f/1.4  f/2 f/2.8 f/3.5 f/4.5 f/5.6 f/8 f/11 f/16 f/22 f/32) จะสังเกตุเห็นว่าหากตัวเลขมีค่าน้อยลงขนาดของรูแสงจะกว้างขึ้น 



ภาพแสดงปริมาณแสงที่สามารถลอดผ่านรูแสง
ที่ค่าอะเพอร์เจอร์ต่างกัน




1.3 การปรับตั้งกล้องในการบันทึกภาพหนึ่งๆ


3.1 การหาระยะชัด (Focusing)
            เป็นการปรับเลื่อนระยะระหว่างเลนส์กับวัตถุที่จะบันทึกภาพ กับระยะระหว่างเลนส์กับหน่วยรับภาพจนได้ตำแหน่งที่ทำให้ภาพมีความคมชัดที่สุด กล้องรุ่นใหม่ ๆ มีระบบหาระยะชัดโดยอัตโนมัติ กล้องสำหรับมืออาชีพหรือกึ่งมืออาชีพ มีปุ่มให้เลือกได้ว่าจะให้กล้องหาระยะชัดหรือจะหาระยะชัดเอง

3.2 การควบคุมปริมาณแสง (Exposure) 
เป็นการทำงานสัมพันธ์กันระหว่างการปรับขนาดความกว้างของรูอะเพอร์เจอร์กับระยะเวลาในการเปิดรับแสงของชัตเตอร์ หน่วยรับแสงจะสร้างภาพได้สมบูรณ์นั้นต้องได้รับปริมาณแสงจำนวนที่เหมาะสมไม่มากไปหรือน้อยไป หากภาพจากวัตถุสว่างน้อยก็ต้องเปิดรับแสงให้มากขึ้น ทำได้โดยการเปิดชัตเตอร์ให้รับแสงนานขึ้นหรือจะปรับอะเพอร์เจอร์ให้รูแสงใหญ่ขึ้นหรือปรับทั้งสองอย่างจนกว่าปริมาณแสงที่จะส่งไปยังหน่วยรับภาพจะตรงต่อความต้องการ อนึ่งในการให้หน่วยรับภาพได้รับปริมาณแสงเท่ากันนั้น หากปรับระยะเวลารับแสงของชัตเตอร์นานขึ้น ก็ต้องลดขนาดของอะเพอร์เจอร์ให้เล็กลง จึงจะทำให้ปริมาณแสงที่ได้คงเดิม

ไม่ว่าจะเป็นการตั้งค่าต่าง ๆ แบบอัตโนมัติหรือจะตั้งค่าด้วยตนเอง เมื่อได้ค่าต่าง ๆ ที่ถูกต้อง ก็ทำการเล็งผ่านช่องมองภาพ เมื่อได้ภาพที่มีองค์ประกอบที่ต้องการ ก็สามารถทำการบันทึกภาพได้อย่างมั่นใจ



2. การใช้กล้อง DSLR


2.1  องค์ประกอบต่างๆ ที่ควรรู้เพื่อการใช้กล้อง




กล้อง...เป็นหัวใจของการถ่ายภาพ ดังนั้นถ้าเราต้องการถ่ายภาพให้ภาพที่ได้ออกมามีสีสรรสวยงาม เราจะต้องเรียนรู้วิธีการใช้กล้องให้ถูกต้อง หวังว่าเพื่อนๆ คงมีกล้องแล้วคนละ 1 ตัว ต่างคนต่างยี่ห้อ แต่ว่าฟังชั่นการทำงานหลักๆ เหมือนกันทุกประการ ผมขอยกตัวอย่างจากกล้อง SLR แบบแมนนวล ที่ค่อนข้างจะมีปุ่มปรับที่เด่นชัด ส่วนกล้องออโตโฟกัสถึงแม้จะมีรูปทรงที่แตกต่างกันไป ปุ่มปรับต่างๆ คล้ายปุ่มเกมส์กด แต่ผลของการปรับก็เหมือนกัน เปรียบเทียบได้กับ TV รุ่นก่อนๆ ที่เปลี่ยนช่องโดยใช้วิธีการหมุนปุ่มบิด เวลาจะเปลี่ยนช่องกันทีก็ต้องหมุนปุ่มลูกบิดดังดังแป๊กๆๆ เพื่อเปลี่ยนช่อง ส่วน TV รุ่นใหม่ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนช่องโดยการกดปุ่มหรือไม่ก็ใช้กดปุ่มรีโมท ไม่ว่าจะเปลี่ยนช่องด้วยวิธีไหนผลที่ได้ออกมาก็เหมือนกันคือได้ดูในช่องที่ต้องการจะดู กล้องก็เหมือนกันมีการออกแบบให้เข้ายุคเข้าสมัยแต่จุดสุดท้ายก็ปรับไปค่าๆ เดียวกันซึ่งให้ผลการถ่ายภาพออกมาสวยงามอย่างที่ตาเห็น
ภาพเกิดจากแสงที่ตกกระทบลงบนแผ่นฟิล์ม แล้วเกิดเป็นภาพต่างๆ ตามความเข้าของสี ถ้าหากแสงเข้ามากเกินไป ภาพก็จะสว่างมากจะมองไม่เห็นรายละเอียด เราเรียกว่าภาพโอเวอร์ ( over expossure )



ตัวอย่างภาพ over ( แสงมากเกินไป )
ถ้าแสงน้อยเกินไปภาพก็จะมืดสีไม่สวยงามดำๆ ไม่สวย เราเรียกว่าภาพอันเดอร์  ( under expossure )

ตัวอย่างภาพ under ( แสงน้อยเกินไป )

ตัวอย่างภาพ แสงพอดี
กล้องมีการปรับปริมาณแสงที่จะตกกระทบลงบนแผ่นฟิล์มได้ 2 วิธีคือ ปรับความเร็วชัตเตอร์ และ ปรับขนาดรูรับแสง
ความเร็วชัตเตอร์   คือความเร็วในการเปิด – ปิด ช่องรับแสง ตัวที่ทำหน้าที่ในการเปิดและปิดกั้นแสงที่จะเข้าไปโดนฟิล์มคือม่านชัตเตอร์ ลองเปิดฝาหลังกล้องออก ( เหมือนเวลาใส่ฟิล์ม ) แล้วลองกดปุ่มถ่ายภาพดู จะเห็นแผ่นบางๆ เคลื่อนที่ขึ้นลงอย่างรวดเร็วจนมองไม่ทัน ตัวที่เคลื่อนที่ขึ้นลงเพื่อเปิดปิดกั้นแสงนี้คือม่านชัตเตอร์ ระยะเวลาสั้นๆ ในการเปิด-ปิดนั้น จึงเรียกว่าความเร็วชัตเตอร์ หรือ Speed ในภาษากล้องเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึง ความเร็วในการเปิดปิดแสงของม่านชัตเตอร์ Speed มีตั้งแต่ช้าจนถึงเร็ว เช่นปล่อยให้แสงเข้ากล้องเป็นเวลา 1 วินาที ,ครึ่งวินาทีหรือ ½ วินาที ,ครึ่งของครึ่งวินาทีหรือ ¼ วินาที , 1/8 วินาที ->ไปจนถึง 1/500 วินาที , 1/1000 วินาที , 1/2000 วินาที , 1/4000 วินาที และสูงสุดในปัจจุบันที่ 1/8000 วินาที หรือเข้าใจง่ายๆ ว่า ถ้าเราแบ่งช่วงเวลา 1 วินาทีออกเป็น 8000 ส่วน ความเร็วขนาดนี้ไวมากเพียงเศษของ 1 ใน 8000 ส่วนนั้น เร็วจนสามารถหยุดหัวลูกปืนที่ยิงออกไปจากกระบอกปืนได้ ทั้งๆ ที่ตาเราไม่สามารถมองเห็นได้ ( ถ้าคงเห็นได้หากใครยิงเราก็คงหลบทันซินะ ) วิธีการเขียนแบบเศษส่วนนี้ดูแล้วก็ชวนเวียนหัวดังนั้นจึงเขียนใหม่ให้เข้าใจง่ายๆ และใช้พื้นที่เขียนน้อย คือ 1, 2, 4, 8, 15, 30, 60, 125, 250 , 500, 1000, 2000, 4000, 8000 และ B ( นานเท่าที่ใจเราต้องการ ) ดังนั้นเมื่อเห็นตัวเลขมากขึ้นอย่าเข้าใจว่ายิ่งช้าลง เพราะตัวเลขนั้นย่อมาจากเศษส่วนใน 1 วินาที บางรุ่นก็สามารถเปิดได้นานถึง 30 วินาที จนเร็วที่สุดถึง 1/8000 วินาที ปกติก็จะอยู่ระหว่าง 1-2000 วินาที ซึ่งเร็วเพียงพอแล้วสำหรับการถ่ายภาพแบบธรรมดา
การปรับความเร็วชัตเตอร์ กล้อง SLR แมนนวล ปรับโดยการหมุนแป้นปรับบนตัวกล้อง
***หมายเหตุ ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นละ 2 เท่า ระว่าง 1 ขั้นที่เพิ่มขึ้นเราเรียกว่า 1 stop

ม่านชัตเตอร์เปิด-ปิดช้าหรือเร็วมีผลอย่างไรต่อปริมาณแสง พูดถึงแสงอาจจะทำให้เข้าใจยากเพราะมันไม่มีปริมาณให้เราสัมผัสได้ ขอยกตัวอย่างที่เข้าใจง่ายกว่าคือ น้ำ ถ้าเราใช้สายยางต่อจากก๊อกน้ำแล้วรองใส่ถัง ถ้าเราเปิดก๊อกนาน 1 วินาที ย่อมมีน้ำน้อยกว่าการเปิดก๊อกนาน 30 วินาที แสงก็เช่นเดียวกัน ถ้าเปิดให้แสงผ่านนานๆ แสงก็จะไปสะสมบนแผ่นฟิล์มมาก
ถ้าหากเราต้องการปริมาณน้ำมากๆ แต่ก๊อกน้ำเราเล็ก เราก็คงต้องเสียเวลารอนานจนกว่าน้ำจะมีปริมาณตามที่เราต้องการ แล้วยิ่งถูกกำหนดไว้ด้วยว่าห้ามเปิดนานเกินช่วงเวลาที่กำหนด เราจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้น้ำมีปริมาณเพียงพอในเวลาที่จำกัดไว้ นั่นก็คือเปลี่ยนก๊อกน้ำให้ใหญ่ขึ้น ยิ่งใหญ่น้ำยิ่งไหลมากขึ้นเต็มถังเร็วขึ้น ขนาดของก๊อกก็เปรียบเสมือน ขนาดของรูรับแสง

รูรับแสง
ขนาดของช่องที่ปล่อยให้แสงผ่านเข้าไปในเลนส์เพื่อรอการเปิดม่านชัตเตอร์ปล่อยให้แสงตกลงบนแผ่นฟิล์ม คือ ขนาดรูรับแสง ตัวที่ทำหน้าที่ในการปรับขนาดความโตของรูที่แสงจะผ่านคือกลีบแผ่นโลหะในกระบอกเลนส์ มีลักษณะเป็นแผ่นพระจันทร์เสี้ยวหลายๆ แผ่นวางเหลื่อมล้ำกัน เมื่อเราปรับขนาดตัวเลขบนกระบอกเลนส์ ( เลนส์แมนนวล ไม่ใช่เลนส์ออโตโฟกัสนะ ) ก็จะทำให้ระบบกลไกลไปกดไปดันให้แผ่นที่ว่านั้นเปิดเป็นช่องเล็กๆ ทำให้แสงผ่านไปได้ ถ้าหากมีกล้องอยู่ในมือให้ลองเปิดฝาหลังออก แล้วปรับความชัตเตอร์ไปที่ B แล้วส่องกล้องไปยังพื้นที่สว่างๆ แล้วกดปุ่มถ่ายภาพ จะเห็นช่องรับแสงที่เราปรับไว้ ขนาดดูรับแสงมีขนาดต่างๆ ดังนี้คือ f 1.4 , 1.8 , 2.0 , 3.5, 4.5 , 5.6 , 8, 11, 16, 22 ตัวเลขดังกล่าวอาจจะทำให้สับสน ตัวเลขดังกว่ายิ่งมีค่ามากรูรับแสงยิ่งแคบ จากตัวเลขทั้งหมดนี้ f1.4 มีขนาดช่องรับแสงที่กว้างที่สุด และ f22 มีขนาดแคบที่สุด เพื่อทำความเข้าใจกับขนาดรูรับแสง ลองปรับขนาดรูรับแสงบนกระบอกเลนส์แล้วกดปุ่มถ่ายภาพดู จะเห็นขนาดของรูรับแสงที่มีขนาดแตกต่างกัน

ความเร็วชัตเตอร์ก็ต้องปรับ ขนาดรูรับแสงก็ต้องปรับ แล้วจะปรับกันอย่างไร เมื่อไรจะรู้ได้ว่าแสงพอดี อ่านแล้วชักเวียนหัว ไม่ยากเลยสำหรับการปรับค่าตัวแปรทั้งสองนี้ ตัวที่จะบอกเราได้ว่าปริมาณแสงพอดีหรือยังคือ เครื่องวัดแสงในตัวกล้อง บางรุ่นที่เก่าๆ จะเป็นเข็มเคลื่อนที่ขึ้นลง ไปทางบวกแปรว่าแสงมากไป ลงมาทางลบแปรว่าแสงน้อยไป ต้องปรับให้อยู่ระหว่างกลางพอดี บางรุ่นจะแสดงเป็นไปหรี่จะบอกปริมาณแสงด้วยความความอ่อนแก่ของสี จุดกลางสุดเป็นจุดที่แสงพอดี ขึ้นไปเป็นแสงมากไป ต่ำลงมาเป็นแสงน้อยไป ลองมองแล้วสังเกตแล้วจะรู้เอง สำหรับมือใหม่ที่ถ่ายด้วยมือควรปรับความเร็วชัตเตอร์ไว้ไม่ต่ำกว่า 60 ถ้าช้ากว่านี้ เวลาถ่ายแล้วมือไม่นิ่งอาจจะทำให้ภาพไหวได้ ถ้าจำเป็นต้องถ่ายด้วยความเร็วที่ต่ำกว่านี้ควรใช้ขาตั้งกล้อง
รู้การปรับทั้งสองอย่างไปแล้ว เราก็ยังไม่สามารถถ่ายรูปได้ ก่อนอื่นเราจะต้องใส่ฟิล์มและปรับตั้งค่าความไว้แสงฟิล์มเสียก่อน

การปรับค่าความไวแสงฟิล์ม ฟิล์มที่มีขายในท้องตลาดมีคุณสมบัติในรับการแสงแต่งต่างกันตามความเหมาะสมในการใช้งาน ค่าที่ต่างกันคือค่าความไว้แสง ดังนั้นเมื่อเราใส่เราฟิล์มเราจะต้องปรับตั้งค่าความไว้แสงของกล้องให้ตรงกับค่าความไวของฟิล์ม ถ้าตั้งค่าผิดไป กล้องก็จะวัดแสงผิด ฟิล์มในท้องตลาดจะมีค่าความไวแสงดังนี้ 50, 100, 200, 400, 800 …. ฟิล์มสีที่เราใช้ถ่ายภาพทั่วไปคือ ความไว 100 หรือ ISO100 เราก็ต้องปรับค่า ISO ของกล้องให้เป็น 100 โดยการปรับปุ่มเดียวกันกับปุ่มปรับความเร็วชัตเตอร์ แต่ต้องดึงปุ่มนั้นขึ้นมาหนึ่งจังหวะแล้วหมุนเอาตามความต้องการ แต่ถ้าหากเราไม่ดึงปุ่มที่ว่านั้นขึ้นมาก็จะกลายเป็นหมุนปรับเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์

ก่อนถ่ายภาพแต่ละครั้งอย่าลืม ปรับความชัดของภาพด้วย โดยการหมุนที่กระบอกเลนส์ ของง่ายๆ ลองดูแล้วจะรู้ได้เอง
บนกระบอกเลนส์จะมีวงแหวนที่หมุนได้อยู่ 3 วง ในสุดคือ หมุนปรับขนาดรูรับแสง  วงกลางคือซูมภาพให้ได้เล็กใหญ่ตามต้องการ  วงนอกสุดคือหมุนปรับความชัดของภาพ ตัวเลขสีขาวคือระยะห่างมีหน่วยเป็นเมตร สีเหลืองมีระยะห่างเป็น ฟุต ให้ผู้ถ่ายเลือกใช้เอาเอง

                                    คลิปนี้จะบอกวิธีใช้กล้อง DSLR




2.2  การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป

เนื่องจากกล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ มีราคาแพง และค่อนข้างบอบบาง ดังนั้นย่อมต้องการการระมัดระวังบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

2.1.1 การจับถือกล้องถ่ายรูป ควรปฏิบัติดังนี้ คือ
1.       ใช้สายสะพายกล้องคล้องคอเสมอ เพื่อป้องกันการตกหล่น กระทบกระแทก อันอาจทำให้เกิดการชำรุดเสียหายได้
2.       ใช้มือซ้ายรับน้ำหนักตัวกล้องในขณะถ่ายรูป ให้ฐานกล้องอยู่บนอุ้มมือนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้มือข้างซ้ายใช้สำหรับแต่งความคมชัด และรูปรับ รับแสงที่ต้องการ
3.       ใช้มือขวาจับตัวกล้องด้านขวามือ หัวแม่มือใช้ในการเลื่อนฟิล์มขึ้นชัดเตอร์ และนิ้วชี้กดลั่นไก นอกจากนั้นนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ยังใช้ปรับเปลี่ยน ความเร็วชัดเตอร์บนตัวกล้อง
4.       ทิ้งน้ำหนักตัวให้อยู่ระหว่างเท้าทั้งสอง โดยแยกเท้าให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อเป็นหลักอันมั่นคงในการทรงตัว
5.       แขนทั้งสองแขนแนบชิดลำตัว แต่ไม่เกร็งทั้งนี้เพื่อให้กล้องนิ่งมือไม่สั่น เพราะถ้ามือสั่นแล้วภาพที่ได้จะไหว
6.       ในบางกรณีอาจต้องการยืนพิงผนัง ต้นไม้ รั้ว เป็นต้น เพื่อให้ได้ภาพสวยงาม โดยเฉพาะในเวลาถ่ายรูปที่แสงไม่พอ จำเป็นต้องใช้ความเร็วชัดเตอร์ต่ำ ๆ ตั้งแต่ 1/30 ลงมา การจับถือกล้องให้นิ่งทำได้ลำบาก จำเป็นต้องใช้เทคนิคดังกล่าว และใช้สายลั่นไกแทนการกดที่ปุ่มลั่นไกก็ได้
7.       ในขณะกดชัดเตอร์ถ่ายรูปกลั้นหายใจไว้ชั่วครู่ จนกว่าการถ่ายรูปจะเสร็จสิ้นควรระลึกเสมอว่า ปุ่มกดชัดเตอร์จะทำงาน เมื่อถูกกดลงไปประมาณ 2 ใน 3 และถ้าต้องการให้กล้องนิ่งมั่นคงยิ่งขึ้นอาจใช้สายกล้องคล้องคอ แล้วพันที่มือขวาอีกครั้งหนึ่ง จะช่วยในการยึดกล้องได้ดีมาก
2.2.2 การเก็บรักษากล้องและอุปกรณ์ควรปฏิบัติดังนี้ คือ
1.       ใช้กล้องอย่างระมัดระวัง การปรับเปลี่ยนปุ่มความไวแสงและขนาดรูรับแสงต้องทำอย่างช้า ๆ เพราะกล้อง อาจชำรุดเสียหายถ้ากลไกต่าง ๆ ไม่เข้าที
2.       ปิดสวิทส์เครื่องวัดแสงทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน
3.       ไม่วาง หรือเก็บกล้องในที่สั่นสะเทือนเพราะอาจทำให้กล้องเสียหายบุบสลายหรือกลไกบางส่วนไม่ทำงานได้
4.       ห้ามใช้น้ำมันหยอดทุกส่วนของกล้อง มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่สามารถหยอดน้ำมันได้ ซึ่งควรถอดชิ้นนั้น ๆ มาหยอดน้ำมันข้างนอกแต่ถ้าหากไม่แน่ใจ ไม่ควรหยอดน้ำมันเอง
5.       เมื่อเลิกใช้งานต้องปรับวงแหวนความคมชัดของเลนส์ ไว้ที่ระยะไกลสุดขอบฟ้า ที่เรียกว่า ระยะอินพินิติ้ (Infinity)
6.       เมื่อเลิกใช้งานต้องปรับรูรับแสงให้มีขนาดโตเต็มที่เช่นเลนส์ที่มีความไว F 1.2 ต้องปรับไว้ที่ F1.2 ทั้งนี้เพื่อลดการทำงานของสปริงบังคับหน้ากล้อง
7.       มื่อเลิกใช้งานต้องตั้งความเร็วชัดเตอร์ไว้ที่ B (Brief หรือ Bulb) และไม่ควรขึ้นชัตเตอร์ เอาไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน
8.       ศึกษาคู่มือการใช้กล้องให้เข้าใจถ่องแท้
9.       ควรเก็บกล้องไว้ในซองหรือกระเป๋ากล้องเสมอ
10.   ไม่ควรเก็บกล้องไว้ในที่ ๆ ร้อนจัด เช่น ในรถยนตร์ หรือที่ชื้นเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดราขึ้นได้
11.   ควรมียากันชื้นหรือพวกซิลิกอนเจล ติดอยู่ภายในกระเป๋ากล้องเสมอ
12.   ไม่ควรเก็บกล้องรวมกับเสื้อผ้า เพราะความชื้นสูงอาจทำให้กล้องและเลนส์เกิดเชื้อราได้ง่าย
13.   ระมัดระวังอย่าให้ละอองน้ำ หรือน้ำทะเลสัมผัสกล้อง ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำจืดที่สะอาด ๆ พอหมาด ๆ เช็ดตัวกล้องทันที และถ้าถูกเลนส์ต้องใช้ น้ำยาเช็ดเลนส์ และกระดาษเช็ดเลนส์ทำความสะอาดทันทีเช่นกัน
14.   การเก็บกล้องไว้นาน ๆ โดยไม่ได้ใช้ต้องนำออกตรวจสอบการทำงานอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยปฏิบัติเหมือนการถ่ายรูปปกติ หรืออาจจะนำมา เพียงขึ้นชัดเคอร์ และกดลั่นไกเพื่อให้ระบบการทำงาน ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเสมอ ๆ 2.15 ถ้ากล้องเกิดการชำรุดขัดข้องอย่าซ่อมด้วยตนเองถ้าท่านไม่รู้วิธีการซ่อมอย่างจริงจัง ควรจัดส่งให้ช่างผู้ชำนาญงานได้ ตรวจซ่อมให้ และโปรดระลึก เสมอว่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

2.3  การเลือกซื้อกล้อง DSLR

 เลือกซื้อกล้อง DSLR ตัวแรกของคุณ สรุปความจาก Photo tuts+ สำหรับผู้เริ่มต้นในการพิจารณาเลือกซื้อกล้องถ่ายรูปที่มีอยู่มากมายหลายรุ่นในท้องตลาด จนงงไปหมดไม่รู้จะเริ่มต้นที่ไหนดี ศัพท์แสงเทคนิคมากมาย อ่านไปงงไป แล้วกล้องตัวไหนที่เหมาะกับคุณ?



     คุณต้องการอะไร? และทำไม? อันดับแรกที่คุณต้องคำนึงถึง เมื่อคุณต้องลงทุนซื้อกล้องถ่ายรูป คือ "เลนส์" เพราะคุณภาพตัวบอดี้กล้องนั้นไม่ว่าจะเป็นเซนเซอร์ ความถูกต้องของสี นอยซ์ในภาพถ่าย ไม่แตกต่างกันมากมายนึกในกล้องแต่ละยี่ห้อ แต่เลนส์ต่างหากที่เป็นส่วนสำคัญของคุณภาพของภาพถ่าย

     เลนส์ คุณจะเอาไปใช้ทำอะไร ถ้าคุณต้องการจะเป็นนักถ่ายภาพกีฬาระดับมืออาชีพ ในไม่ช้าคุณต้องอยากได้เลนส์ Telephoto ที่มีประสิทธิภาพสูง โฟกัสเร็วแม่นยำ ซึ่งนั่นก็จำกัดกรอบในการเลือกยี่ห้อลงให้เหลือแค่ Nikon หรือ Canon เท่านั้นเอง หรือถ้าคุณต้องการเพียงแค่ถ่ายรูปเป็นงานอดิเรก คุณก็ไม่จำเป็นต้องไปลงทุนอะไรกับเลนส์ราคาแพงๆ พิจารณาดูว่าคุณต้องการอะไร และตัดสินใจเลือกเลนส์แบบไหน และสามารถที่จะจ่ายตังค์ซื้อมันได้

     กล้อง (Body) ให้คำนึงถึงการควบคุม เมนูกล้อง ปุ่มการใช้งานต่างๆ ที่คิดว่าถนัด สะดวกในการใช้ ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ ดีที่สุดเลยก็คือลองจับๆดูว่าเหมาะมือหรือเปล่า



      Canon มีเลนส์ให้เลือกมากมายหลายรุ่น และยังมีผู้ผลิตเลนส์อิสระอีกหลายยี่ห้อ Lens ของ Canon มีให้เลือกตั้งแต่ 
65mm MP-E Macro ไปจนถึง 800mm f/5.6L monster  L หมายถึง Luxury เลนส์คุณภาพสูงระดับสุดยอดของ Canon การมีส่วนแบ่งการตลาดสูง 30% ทำให้มีการผลิตเลนส์และอุปกรณ์ต่างๆสำหรับ Canon มากมายและราคาไม่แพงอีกด้วย





      Nikon มีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 20% คู่แข่งสำคัญของ Canon จึงมีเลนส์จากค่ายอิสระให้เลือกมากมายด้วยเช่นกันไม่ว่าจะเป็น Sigma Tamron ที่มีคุณภาพเลนส์สูงแต่ราคาถูกกว่าเลนส์ของ Nikon เองเกือบครึ่ง แต่เลนส์ Nikon มีการผลิตออกมาอย่างยาวนานมาก ไม่มีการเปลี่ยน Mount กล้อง Nikon สามารถใช้กับเลนส์รุ่นเก่าๆได้ทั้งหมด Nikon ก็เหมือนกับ Canon มีการผลิตกล้องระับมือใหม่ (Entry Level) ไปจนถึงระดับสุดยอดโปรออกมาให้เลือกเช่นกัน การตัดสินใจว่าจะเลือกอะไรระหว่าง Nikon หรือ Canon เป็นเรื่องความพอใจส่วนตัวเลยจริงๆ



      Sony มือใหม่ในวงการ DSLR ซึ่งผลิตแต่กล้อง VDO กล้องภาพยนตร์ ตั้งแต่สมัครเล่นจนถึงระดับมืออาชีพมาอย่างยาวนาน
กล้อง Sony ใช้ระบบ Translucent Mirror ไม่ใช้กระจกสะท้อนภาพที่ต้องกระดกขึ้นลงเหมือนกล้อง DSLR ทั่วไป ทำให้ถ่ายภาพได้อย่างรวดเร็วเช่น Sony A57 ถ่ายภาพได้ 10 ภาพต่อวินาที เร็วที่สุดระดับราคากล้องที่ใกล้เคียงกัน Sony ยังผลิต Sensor รับภาพให้กับ Nikon อีกด้วย มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวที่ sensor ทำให้เลนส์มีน้ำหนักเบา คุณภาพเลนส์แม้จะไม่เท่า Nikkors หรือ L series แต่ก็ระดับ Sigma Tamron แต่ก่อนจะซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับแฟลชทั้งหลายควร ตรวจสอบก่อนว่าใช้กับ Sony ได้หรือไม่





Pentax
 ยี่ห้อนี้หายเงียบไปนานหลังจากหมดยุคฟิลม์ ไปเป็นดิจิตอล กลับมาใหม่ด้วย  The Pentax K5 ใช้ Sensor ของ Sony และออกรุ่นต่อๆมาอีกในเวอร์ชั่นนี้ ความเร็วในการบันทึกภาพระดับ 7 Frame ต่อวินาที โฟกัสได้ในที่ๆแสงน้อย ในราคาย่อมเยาว์ Body อึดทนทานตามแบบฉบับ Pentax ซึ่งเคยเป็นกล้องสนามในกองทัพ Mount ของ Pentax เหมือน Nikon สามารถใช้กับเลนส์รุ่นเก่าๆได้ทั้งหมด 





      Sigma ใช้ Sensor Faveon เทคโนโลยี่ที่เขาบอกว่าคือการที่ 1 Pixel มี 3 Layer โดยไม่ใช้การจัดเรียง Pixel แบบ Bayer filter (ที่เป็นเหมือนปูกระเบื้องสี) ทำให้สีออกมาแม่นยำกว่ามาก ในสเปคกล้องบอกว่า 12 - 14 Megapixel เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำมากสำหรับกล้อง DSLR ในปัจจุบัน ทั้งที่จริงแล้วมันควรจะบอกว่า x 3
mount lens เป็นแบบ SA ซึ่งใช้กับเลนส์ของ Sigma เท่านั้น




3. การประยุกต์ใช้กล้อง DSLR เพื่อการถ่ายภาพบุคคล

ส่วนใหญ่ เป้าหมายหลักในการถ่ายภาพบุคคลคือ การดึงลักษณะเด่นของตัวแบบออกมา ในขณะที่วัตถุประสงค์รองคือการสร้างภาพบุคคลที่ดึงดูดความสนใจของผู้ชมภาพ ดังนั้น ในการถ่ายภาพบุคคลให้คำนึงถึงวัตถุประสงค์เหล่านี้ ต่อไปนี้คือเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะทำให้ ภาพถ่ายบุคคลของคุณดูสวยงามขึ้น

3.1  ภาพบุคคล แนะนำการถ่ายภาพบุคคล แบบดั่งเดิม




ภาพซ้าย ตัวอย่างภาพถ่ายบุคคลแบบดั้งเดิมที่ไม่ดี ในตัวอย่างนี้ พื้นหลังอยู่ใกล้และเกาะกลุ่มกันเกินไป มีบางส่วน กลืนไปกับผมของตัวแบบ ทำให้ภาพถ่ายดูไม่สวยงาม
ภาพขวา ตัวอย่างภาพถ่ายบุคคลแบบดั้งเดิมที่ดี ในตัวอย่างนี้ วัตถุบนพื้นหลังอยู่ห่างออกไปในระยะพอเหมาะ โครงร่างของตัวแบบดูโดดเด่น เพราะแสงไฟที่ต้นไม้หลังตัวแบบที่ ช่วยสร้างคอนทราสต์ในภาพ
หมายเหตุ : ในภาพถ่ายบุคคลแบบดั้งเดิม วัตถุหลักจะเป็นคน ในขณะที่องค์ประกอบอื่นๆ ในกรอบภาพอย่างพื้นหลังหรือพื้นหน้า จะต้องไม่อยู่ในโฟกัสของภาพ เพื่อให้ความสนใจของผู้ชมภาพมุ่งมายังวัตถุหลักเท่านั้น ในการสร้างภาพบุคคลที่ดีเช่นนี้ คุณจะต้องสร้างระยะชัดลึกที่ตื้นโดยใช้เคล็ดลับง่ายๆ ต่อไปนี้
O ตั้งค่ารูรับแสงกว้างให้ที่สุด (ค่ารูรับแสงน้อย) เท่าที่เลนส์ของคุณสามารถทำได้
O ให้พื้นหลังอยู่ห่างจากวัตถุหลักมากที่สุดเท่าที่จะมากได้
O ควรซูมเลนส์กล้องเท่ากับค่ากลางของระยะซูมขึ้นไป
การเลือกพื้นหลังก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ต่อไปนี้คือเคล็ดลับในการเลือกพื้นหลังที่ดีในการ
ถ่ายภาพบุคคลแบบดั้งเดิม
O พยายามหาพื้นหลังที่เรียบที่สุด
O สีและเฉดสีของพื้นหลังควรแตกต่างจากสีผมและสีเสื้อผ้าของตัวแบบมากที่สุด

3.2  ภาพบุคคล ดึงลักษณะเด่นของตัวแบบออกมา


ถึงแม้ว่าช่างภาพจะร้องขอให้หญิงสาวคนนี้จัด ท่าทางเพื่อถ่ายภาพ แต่นิสัยขี้เล่นของเธอ แสดงออกมาจากการที่เธอตัดสินใจก้มตัวลง และใช้มือแตะบนหัวเข่าอย่างกะทันหัน

สีหน้าผ่อนคลายของเด็กชายหลังจากที่แม่ติดพลาสเตอร์ลงบนแผลที่หน้าผากถูกจับภาพไว้ได้ทันทีที่หนูน้อยหันหน้ามาหาช่างภาพ

ถึงแม้ว่าไม่มีตัวแบบคนใดในภาพมองกล้อง แต่ภาพถ่ายบุคคลภาพนี้มีความน่าสนใจ เนื่องจากสีหน้าของตัวแบบดูเป็นธรรมชาติและ แสดงให้เห็นว่าพวกเขากำลังสนุกกับการ ทำงานของตน

หมายเหตุ : ภาพถ่ายบุคคลอาจเป็นภาพถ่ายที่มีลักษณะเป็นทางการซึ่งช่างภาพจะเป็นผู้บอกให้ตัวแบบจัดท่าทาง หรืออาจเป็นภาพแอบถ่ายซึ่งจับภาพของตัวแบบโดยที่ตัวแบบไม่รู้ตัวก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพ บุคคลแบบใด สิ่งสำคัญก็คือการดึงเอาลักษณะเด่นของตัวแบบออกมาให้มากที่สุด หากคุณไม่เคยรู้จัก ตัวแบบมาก่อน อาจพูดคุยกับตัวแบบในเรื่องทั่วๆ ไปสักสองสามนาที วิธีนี้ยังช่วยให้ตัวแบบของคุณ รู้สึกผ่อนคลายขึ้นด้วย



3.3  ภาพบุคคล ใช้แสงอย่างสร้างสรรค์



ภาพถ่ายบุคคลภาพนี้ถ่ายในบริเวณที่มีร่มเงาและมีแสงส่องมาจากด้านขวามือ ศีรษะของตัวแบบที่เอียงเล็กน้อยและแสงที่ส่องมาจากทิศทางเดียวช่วยเพิ่มความลึกให้แก่ภาพถ่าย



ภาพนักปั่นจักรยานคนนี้ถ่ายตอนกลางคืนโดยใช้เฉพาะแฟลชภายนอกที่วางอยู่ด้านหน้าทางซ้ายมือเท่านั้นในสร้างแสงภาพถ่ายที่ดูสวยงาม

หมายเหตุ : การใช้แสงอย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นความโดดเด่นไปที่ลักษณะของตัวแบบ สามารถทำให้ภาพถ่ายบุคคลดูมีชีวิตชีวามากกว่าเดิม ดังภาพถ่ายเหล่านี้

3.4 ภาพบุคคลแบบมีบริบทแวดล้อม



ภาพซ้าย เมื่อดูจากองค์ประกอบเสริมในภาพ เช่น ดินสอ โต๊ะ และเพื่อนๆ ในห้อง ไม่ว่าใครก็สามารถบอกได้ว่าเด็กชายชาวพม่าคนนี้เป็น นักเรียน
ภาพขวา ภาพนี้คือภาพถ่ายของทหารจีน และแสดงให้เห็นว่าเขาคือหนึ่งใน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ได้รับเลือกมาเป็นพิเศษเ พื่อประจำการที่อนุสาวรีย์วีรชน ณ จตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง

หมายเหตุ : ในบางครั้ง การซูมออกเล็กน้อยเพื่อเก็บองค์ประกอบบนพื้นหลังให้อยู่ในโฟกัสของกล้องอาจช่วยบอก เรื่องราวเกี่ยวกับตัวแบบ สร้างความน่าสนใจและความน่าดึงดูดใจให้กับภาพถ่ายได้มากขึ้นดังตัวอย่าง ที่แสดงไว้ข้างต้น



3.5  ภาพบุคคล การถ่ายภาพเด็ก




นี่คือภาพถ่ายทั่วๆ ไปที่ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ ถ่ายได้ เพราะไม่ทราบว่าเพียงแค่การก้มลง ถ่ายภาพในระดับสายตาของเด็ก พวกเขาก็จะ ได้ภาพที่สวยงามกว่านี้มาก



ในทางตรงกันข้าม ภาพที่ถ่ายจากความสูงระดับสายตาของเด็กจะแสดงให้เห็นชีวิตจากมุมมองของพวกเขาเอง และสามารถจับภาพสีหน้าทั้งหมดของตัวแบบได้ดีขึ้น


ถึงแม้ว่าเราจะแนะนำให้คุณตั้งค่าความไว ชัตเตอร์สูงเพื่อ "หยุด" ความเคลื่อนไหวของ เด็ก ๆ ที่มักจะไม่อยู่นิ่ง แต่การใช้ความไว ชัตเตอร์ต่ำในขณะที่ติดตามเด็กที่กำลัง เคลื่อนไหว (เทคนิคนี้เรียกว่า "การแพนกล้อง" ซึ่งจะกล่าวถึงในหมวดการถ่ายภาพการ แข่งขันกีฬา) จะทำให้ได้ภาพถ่ายที่มีความน่า สนใจ

 หมายเหตุ :โดยทั่วไปแล้ว ในการถ่ายภาพเด็ก ช่างภาพจะต้องรับมือกับความท้าทายมากมาย เด็กๆ มักจะไม่ อยู่นิ่ง ทำให้ช่างภาพจัดวางองค์ประกอบของภาพได้ยาก เด็กบางคนยังเล็กเกินกว่าจะเข้าใจว่าวิธี การจัดท่าทางที่เป็นธรรมชาตินั้นทำอย่างไร ในขณะที่บางคนก็อายเมื่ออยู่หน้ากล้อง ต่อไปนี้คือเคล็ดลับที่คุณสามารถนำไปใช้ในการถ่ายภาพเด็กๆ ได้
O ถ่ายภาพเด็กๆ จากระดับสายตาของพวกเขา
ผู้ใหญ่หลายคนมักจะถ่ายภาพจากระดับความสูงที่ตัวเองรู้สึกว่าสบายเท่านั้น ภาพที่ได้จึงไม่ สวยงามไม่ว่าเด็กจะเงยหน้าขึ้นหรือหันหน้าออกจากกล้องก็ตาม ภาพถ่ายเด็กที่ดีจะต้องถ่าย ณ ความสูงระดับเดียวกับระดับสายตาของพวกเขา คุณจึงจะสามารถเก็บภาพสีหน้าของเด็กๆ ได้ทั้งหมด
O ใช้ความไวชัตเตอร์สูง
สำหรับเด็กๆ ที่ไม่อยู่นิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กๆ ที่กำลังเล่น ให้ลองเพิ่มความไวชัตเตอร์ โดย ปรับรูรับแสงให้ใหญ่ขึ้น (ค่า F-stop น้อย) หรือเพิ่มความไวแสง (ISO) อย่างใดอย่างหนึ่ง วิธีนี้ จะทำให้ภาพถ่ายที่ได้คมชัดไม่พร่ามัวจากการเคลื่อนไหวของเด็กๆ  
O อย่าพยายามจัดท่าทางของพวกเขา
พยายามอย่าจัดท่าทางของเด็กหรือปล่อยให้พวกเขาสังเกตเห็นคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็ก แต่ให้ใช้ของเล่นหรือขนมที่พวกชอบ หรือเปิดเสียงที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กๆ แทน เทคนิคที่ใช้ได้ผลดีซึ่งช่างภาพมืออาชีพหลายคนนำมาใช้ในการถ่ายภาพเด็กเล็กคือ แขวนสิ่งของที่มีสีสันสดใสไว้ด้านบนของเลนส์เพื่อดึงดูดสายตาของพวกเขามาที่เลนส์กล้อง โดยตรง การใช้วิธีนี้มักจะทำให้เด็กๆ แสดงสีหน้าตามธรรมชาติออกมา ภาพถ่ายจึงดูมีชีวิต ชีวา ดูดีกว่าเดิม และดึงลักษณะเด่นของเด็กๆ ออกมาได้


คลิปสอนเทคนิคการถ่ายภาพบุคคล



อ้างอิงโดย  http://dslr.nikon-asia.com/
                  http://www.supremeprint.net/
                 http://www.sivs2011.org/